ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก Bell Theeraphat

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยงอัมพวา




สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายริมคลองแบบสมัยก่อนโดยมีแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางสายหลักในการเดินทางแล้วละก็ ตลาดน้ำอัมพวาที่จังหวัดสมุทรสงครามแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งแห่งที่ต้องมาสัมผัสกัน 

ตลาดน้ำอัมพวาแห่งนี้เป็นตลาดยามเย็น จะเริ่มต้นกิจกรรมต่างๆกันตั้งแต่เวลา 15.00น. ไปจนถึง 21.00 น. โดยประมาณ ที่นี่จะมีร้านค้าขายสินค้ามากมายหลายประเภททั้งของกิน ของใช้ เรียงรายอยู่ 2 ฝั่งคลอง อีกทั้งยังมีพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาขายด้วย ของที่มาขายในเรือจะเน้นของกินเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น ปลาหมึกย่างพร้อมกับน้ำจิ้มรสเด็ด กุ้งแม่น้ำตัวโต หอยเซลปิ้งสดสด หรือจะเป็นพวกผัดไทยอีก 1เมนูที่ไม่ควรพลาดก็มีให้เลือกชิมกันมากมายหลายร้าน และที่ขาดไม่ได้ก็จะเป็นพวกผลไม้สดใหม่จากสวน 

พวกขนมโบราณแบบไทยแท้ก็มีชิมกันหลากหลายประเภท อาทิเช่นขนมลืมกลืน ขนมชื่อแปลกแต่รสชาติถูกปาก หรือว่าจะเป็นขนมหม้อแกงที่ใส่มาในหม้อดินเผาใบน้อย ก็น่าสนใจซื้อหากลับไปลิ้มลองความอร่อยเหมือนกัน ของขึ้นชื่ออีกอย่างของจังหวัดสมุทรสงครามที่หาซื้อได้จากที่นี่ก็คือ ปลาทูนึ่งตัวอวบอ้วนจากแม่กลอง โดยจะมีสโลแกนประจำตัวด้วยว่า “ปลาทูนึ่งแม่กลองต้องหน้างอ คอหัก” จะเพราะอะไรและทำไมต้องเรียกแบบนี้คงต้องตามไปดูกัน 

นอกจากจะได้อิ่มหนำกับรสชาติอาหารแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นที่น่าสนใจด้วย อย่างเช่น การนั่งเรือไปไหว้พระที่วัดริมแม่น้ำแม่กลอง พร้อมกับชมบรรยากาศสองฟากฝั่งคลอง และอีกหนึ่งอย่างเมื่อได้มาถึงอัมพวาก็คือ การนั่งเรือไปดูหิ่งห้อยที่บินออกมาส่องแสงเรืองรองในยามค่ำคืน จะมีค่าบริการอยู่ที่ประมาณ 60-80 บาทต่อคน หรือจะเช่าเหมาเรือเป็นหมู่คณะเลยก็ได้ 

สำหรับคอเพลงรุ่นเก่าจะพลาดไม่ได้เลยกับ “บ้านครูเอื้อ สุนทรสนาน” ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม ซึ่งจะมีของใช้ส่วนตัวของครูเอื้อให้เราได้ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก อีกทั้งยังสามารถซื้อหาแผ่นเพลงของครูเอื้อได้อีกด้วย 

ถ้าใครยังติดใจบรรยากาศคึกคักกับตลาดริมน้ำ หรืออยากจะสัมผัสความเงียบสงบในแบบบ้านพักริมน้ำที่นี่ก็ยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ไว้รองรับสำหรับผู้มาเยือน และถ้ามีโอกาสได้พักสักหนึ่งคืน รับรองว่าจะต้องติดใจในความมีชีวิตที่อัมพวาแห่งนี้อย่างแน่นอน 

การเดินทางไปตลาดน้ำอัมพวา
รถตู้โดยสารประจำทาง สามารถขึ้นรถได้ที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิทางฝั่งถนนพหลโยธิน คิดค่าบริการประมาณ 100 บาทต่อคน 

รถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี มาลงที่ตลาดแม่กลอง แล้วจึงนั่งรถต่อไปที่ตลาดน้ำอัมพวา จะมีให้เลือกทั้งรถสองแถว รถโดยสารประจำทางและรถตุ๊กตุ๊ก 

เศรษฐกิจพอเพียง

ฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

ประชาคมอาเซียน

ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ ด.ช.ธีรพัฒน์ อ่วมด้วง       ชื่อเล่น เบว
เกิดวันที่ 7  ก.ค. 2541      ปัจุบันอายุ 14 ปี
ปัจุบันศึกษาที่ โรงเรียนถาวรานุกูล
ชั้นมัธยมศึกปีที่ 2 ห้อง 8